วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เมืองสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศลาว




          เวียงจันทน์
เป็นเมืองหลวงของสปป.ลาว เดิมเรียกว่ากำแพงนครเวียงจันทน์ตั้งอยู่ตอน กลางของประเทศ มีพื้นที่ 3.9 พันตารางกิโลเมตร เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงตรงข้ามกับอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เป็นศูนย์กลางด้านการเมือง วัฒนธรรมและเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วย มีย่านไชน่าทาวน์ และห้างสรรพสินค้าซึ่งเป็นตลาดสินค้าจากไทย จีนและเวียดนามวางจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางธุรกิจของสปป.ลาวตอนกลาง



          หลวงพระบาง
เป็นแขวงสำคัญทางตอนเหนือของประเทศ มีพื้นที่ 1.7 หมื่นตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางเหนือของนครเวียงจันทน์ ระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตร เชื่อมต่อถึงกันด้วยทางหลวงหมายเลข 13 ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 – 10 ชั่วโมงถนนอยู่ในสภาพที่ไม่ดีนัก มีเครื่องบินจากนครเวียงจันทน์ถึงหลวงพระบางโดยสายการบินลาว ใช้เวลาบินประมาณ 45 นาที มีประชากรประมาณ 4.2 แสนคน ได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลกในปี 2541 จากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ซึ่ง ทำให้เมืองหลวงพระบางเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วโลกเกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถาน และสิ่งปลูกสร้างสำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่งดงาม ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศและเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางธุรกิจของสปป.ลาวตอนเหนือ


           สะหวันนะเขต
เป็นแขวงสำคัญทางภาคใต้ของประเทศมีพื้นที่ 21,774 ตารางกิโลเมตร จึงเป็นแขวงที่ใหญ่อันดับ 2 ของสปป.ลาวอยู่ตรงข้ามจังหวัดมุกดาหารมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นเขตแดนและมีสะพานมิตรภาพ 2 เชื่อมโยงไทย-ลาว โดยมีเส้นทางหมายเลข 9 ที่สามารถเดินทางไป เมืองดองฮา และ ท่าเรือน้ำลึกดานังของ เวียดนาม ด้วยเหตุนี้แขวงสะหวันนะเขตจึงเป็นเมืองที่มีความสำคัญด้านการค้าและรวมไป ถึงการส่งสินค้าผ่านแดน ระหว่างเมืองเมาะลำไยของพม่ากับแขวงสะหวันนะเขตเพื่อผ่านไปท่าเรือน้ำลึก ดานังของเวียดนามซึ่งมีระยะทางประมาณ 1,450 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคม East-West Economic Corridor หรือ EWEC ภายใต้ กรอบพัฒนาเศรษฐกิจสังคม 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงหรือ GMS ซึ่งเป็นทางบกที่สั้นที่สุดที่สามารถเชื่อมทะเลอันดามันกับทะเลจีนใต้

ที่มา: http://61.47.41.107

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของประเทศสาว





         ทรัพยากรสำคัญของลาว ได้แก่ ไม้ ดีบุก ยิบซั่ม ตะกั่ว หินเกลือ เหล็ก ถ่านหินลิกไนต์ สังกะสี ทองคำ อัญมณี หินอ่อน น้ำมัน และแหล่งน้ำผลิตลาวได้ชื่อว่าเป็นประเทศแห่งป่าไม้และขุนเขา ด้วยทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์และมีขุนเขาสลับซับซ้อนโดยเฉพาะทางตอนเหนือของประเทศ ตั้งอยู่บริเวณที่เรียกว่า “ดินแดนสุวรรณภูมิ”หรือคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนประชิดกันห้าประเทศเพื่อนบ้านคือ ไทย เวียดนาม เมียนมาร์ กัมพูชา และจีน และด้วยเหตุที่ ล้อมรอบด้วประเทศเพื่อนบ้านถึงประเทศ ลาวจึงเป็นประเทศเดียวในแถบนี้ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลแต่แม้ไม่ทะเล ลาวก็ยังมีแม่น้ำสายสำคัญอย่างแม่น้ำลำโขงไหลผ่านประเทศ
        นอกจากทรัพยากรป่าไม้แล้ว ประเทศลาวอุดมด้วยสินแร่ชนิดต่างๆ กระจายอยู่ตามพื้นที่ในประเทศลาว ทั้งทองคำ ทองแดง อะลูมิเนียม เกลือ ปูน เป็นต้น จึงมีการทำเหมืองตรงบริเวณที่พบแร่เหล่านี้





ที่มา: https://samita2039.wordpress.com

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณของลาว


6



     วัฒนธรรมของลาวจะมีความคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมทางภาคอีสาน ของไทยมาก

     ด้านดนตรี  แคน ถือเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ โดยมี วงดนตรีคือ วงหมอลำ และมีรำวงบัดสลบ (Budsiob) ซึ่งเป็นการเต้นที่มีท่าตามจังหวะเพลง โดยจะเต้นพร้อมกันไปอย่างเป็นระเบียบถือเป็นการร่วมสนุกกันของชาวลาวใน งานมงคลต่างๆ

     การตักบาตรข้าวเหนียว

ถือเป็นจุดเด่นของเมืองหลวงพระบาง ซึ่งโดยปกติแล้วนิยมใส่บาตรด้วยข้าวเหนียวเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อ ถึงเวลาฉัน ชาวบ้านจะยกสำรับกับข้าวไปถวายที่วัด เรียกว่า “ถวายจังหัน” โดยเวลาใส่บาตรจะนั่งคุกเข่าและผู้หญิง ต้องนุ่งซิ่น ส่วนผู้ชายนุ่งกางเกงขายาว และมีผ้าพาดไหล่ไว้สำหรับเป็นผ้ากราบพระเหมือนกัน





ที่มา: http://www.ceted.org/



วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ระบบเศรษฐกิจของประเทศลาว


  
         
  ระบบเศรษฐกิจประเทศลาว ใช้ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมตั้งแต่ปี 2518 แต่ได้มีการปฎิรูประบบ                   เศรษฐกิจของลาว ได้มีการพัฒนาออกเป็น 2 ช่วง คือ

      1. ระบบปลดปล่อยมาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

ระบบเศรษฐกิจนิยม เป็นระบบใกล้เคียงอันระบบคอมมิวนิสต์ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้ รัฐจะเป็นผู้ครอบครองทรัพยากรพื้นฐานไว้เกือบทั้งหมดแต่รัฐก็จะให้ความเสรีกับประชาชนบ้างพอสมควร ส่วนเอกชนจะมีเสรีภาพและกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน

     2. จากระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมมาเป็นระบบตลาด

ระบบเศรษฐกิจตลาดนั้นมองรัฐเป็นสิ่งไม่มีตัวตนและภายใต้ระบบเศรษฐกิจตลาดนั้นเป็นแบบตลาดแข่งขันสมบูรณ์และสมบูรณ์

ระบบเศรษฐกิจของลาว ส่วนใหญ่เน้นในเรื่องการค้า ในส่วนของรูปแบบการค้ามีอยู่ 2 แบบ คือ การค้าในระบบและการค้านอกระบบ และจะมีอีกส่วนที่เป็นการลงทุนของต่างประเทศที่เข้ามามีบทบาทในเรื่องเศรษฐกิจของลาว นั้นคือ จะสามารถ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ

   1. ธุรกิจตามสัญญา

   2. วิสาหกิจผสมระหว่างการลงทุนต่างประเทศในผู้ลงทุนภายใน

  3. วิสาหกิจลงทุนต่างประเทศ 100%

ในระบบเศรษฐกิจนี้ของประเทศลาวจะมีการติดต่อค้าขายส่งออกและนำเข้า อาทิ เช่น ไทย จีน ญึ่ปุ่น เป็นต้น

         เศรษฐกิจของประเทศลาวเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยรัฐบาลลดการควบคุมจากส่วนกลางและกระตุ้นการลงทุนของเอกชนตั้งแต่ พ.ศ. 2529 ลาวเป็นประเทศที่ผลิตพลังงานและส่งไปขายให้จีน เวียดนาม และไทยแม้จะยังเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

เมืองหลวงประเทศลาว


ประเทศลาว เมืองหลวงคือ กรุงเวียงจันทน์ (Vientiane)


กรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงลาว

เวียงจันทน์ หรือ นครหลวงเวียงจันทน์ ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศลาวในเขตลุ่มแม่น้ำโขง โดยอยู่ติดกับจังหวัดหนองคายของประเทศไทย เวียงจันทน์เป็นเมืองโบราณมีอายุมากกว่าหนึ่งพันปี โดยสถาปนาเป็นเมืองหลวงตั้งแต่สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชในราวพุทธศตวรรษที่ 15 เวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญที่สุดของประเทศลาว มีประชากรอยู่หนาแน่นที่สุด โดยมีประชากรราว 700,000 คน โดยในยุคการล่าอาณานิคม เวียงจันทน์เคยตกอยู่ภายใต้การยึดครองของประเทศฝรั่งเศส


ที่มา: http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

สัตว์ประจำชาติลาว






สัตว์ประจำชาติลาว
ช้างเอเชีย (Asian Elephant) สัตว์ประจำชาติลาว
ชาวอาเซียนหลายท่านย่อมรู้จักช้างซึ่งเป็นสัตว์ประจำชาติไทยกันมาบ้างแล้ว ทว่าช้างยังเป็นสัตว์ประจำชาติลาวอีกด้วย เนื่องจากประเทศลาวมีช้างจำนวนมากมาย และยังเป็นสัญลักษณ์ธงแห่งอาณาจักรล้านช้างซึ่งเป็นอาณาจักรของลาวในสมัยก่อนด้วย ลำตัวของช้างมีสีเทา จมูกยื่นยาวที่เรียกว่า งวง แต่งวงของช้างเอเชียบ้านเรานั้นจะมีเพียงจะงอยเดียว ซึ่งต่างจากช้างของแอฟริกาที่มี 2 จะงอยและยังมีใบหูเล็กกว่าอีกด้วย แต่ช้างเอเชียมีอายุยืนมากกว่าช้างแอฟริกา โดยมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 60 ปี

ลักษณะของช้างตัวผู้จะมีงายาวเรียกว่า ช้างพลาย หากไม่มีงาเรียกว่า ช้างสีดอ ส่วนตัวเมียเรียกกันว่า ช้างพัง มักจะไม่มีงาปรากฏให้ได้พบเห็น ขณะเดียวกัน ช้างบางตัวยังพบว่ามีงาสั้นอีกด้วย โดยเรียกว่า ขนาย ซึ่งโผล่ออกมาจากตำแหน่งที่ควรจะเป็นงายาวๆ สำหรับช่วงฤดูผสมพันธุ์นั้น ช้างจะมีอารมณ์ดุร้ายมาก ตั้งท้องโดยใช้เวลานานประมาณ 18-22 เดือน แต่จะออกลูกเพียงครั้งละตัวเท่านั้น ทั้งนี้ มันยังเป็นสัตว์ประเภทเลี้ยงลูกด้วยนมอีกด้วย

งาช้าง สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. งาปลี ลักษณะเป็นลำใหญ่ วัดรอบได้ประมาณ 15 นิ้ว แต่ไม่ได้มีความยาวมากนัก
2. งาหวายหรืองาเครือ มีลักษณะยาวรี วัดรอบได้ประมาณ 14 นิ้ว

การกินอาหารของช้างนั้น หลายคนอาจจะรู้สึกหวาดกลัวอยู่บ้างเพราะเข้าใจว่ามันอาจจะล่าเนื้อสัตว์หรือกินมนุษย์เป็นอาหารหรือไม่ แท้จริงแล้ว ช้างเป็นสัตว์ที่เชื่องมากแถมยังกินพืชเป็นอาหาร มันมักจะอยู่รวมตัวกันเป็นโขลงหรือหลายๆ ตัว ช้างพังที่อายุมากมักเป็นหัวหน้าที่เรียกว่า จ่าโขลง ช้างเอเชียสำหรับบ้านเรา ตั้งแต่สมัยโบราณมามักจะถูกเลี้ยงไว้เพื่อนำมาใช้งานประเภทต่างๆ เช่น ใช้ลากซุง เป็นพาหนะขนสิ่งของและใช้เพื่อการสู้รบในศึกสงคราม สำหรับประเทศอาเซียนในเขตภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักนับถือช้างเป็นสัตว์ชั้นสูง สังเกตพบได้จากตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ ทั้งทางตำราคชลักษณ์และธงรูปช้าง เป็นต้น


ที่มา: https://sites.google.com

ตราแผ่นดินประเทศลาว



                                                                ตราแผ่นดินลาว


แบบปัจจุบันเป็นตราของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2534 หลังจากการใช้นโยบายจินตนาการใหม่ มีลักษณะตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หมวดที่ 10 มาตราที่ 90 ไว้ว่า :-"เครื่องหมายชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นรูปวงกลม ด้านล่างมีรูปครึ่งกงจักรเป็นฟันเฟืองและโบว์อักษร "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" (ลาว: "ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ") สองข้างล้อมด้วยรวงข้าวสุกเป็นรูปวงพระจันทร์และโบว์สีแดงเขียนอักษร "สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร (ลาว: "ສັນຕິພາບ ເອກກະລາດ ປະຊາທິປະໄຕ ເອກະພາບ ວັດທະນາຖາວອນ") ระหว่างกลางของสองปลายรวงข้าวมีรูปพระธาตุหลวง อยู่กลางรูปวงกลมมีหนทาง ทุ่งนา ป่าไม้ และเขื่อนไฟฟ้าน้ำตก"


ที่่มา: https://th.wikipedia.org