วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เมืองสำคัญด้านเศรษฐกิจ

เวียงจันทน์

          เป็นเมืองหลวงของสปป.ลาว เดิมเรียกว่ากำแพงนครเวียงจันทน์ตั้งอยู่ตอน กลางของประเทศ มีพื้นที่ 3.9 พันตารางกิโลเมตร เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงตรงข้ามกับอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เป็นศูนย์กลางด้านการเมือง วัฒนธรรมและเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วย มีย่านไชน่าทาวน์ และห้างสรรพสินค้าซึ่งเป็นตลาดสินค้าจากไทย จีนและเวียดนามวางจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางธุรกิจของสปป.ลาวตอนกลาง

หลวงพระบาง

          เป็นแขวงสำคัญทางตอนเหนือของประเทศ มีพื้นที่ 1.7 หมื่นตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางเหนือของนครเวียงจันทน์ ระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตร เชื่อมต่อถึงกันด้วยทางหลวงหมายเลข 13 ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 – 10 ชั่วโมงถนนอยู่ในสภาพที่ไม่ดีนัก มีเครื่องบินจากนครเวียงจันทน์ถึงหลวงพระบางโดยสายการบินลาว ใช้เวลาบินประมาณ 45 นาที มีประชากรประมาณ 4.2 แสนคน ได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลกในปี 2541 จากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ซึ่ง ทำให้เมืองหลวงพระบางเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วโลกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ โบราณสถาน และสิ่งปลูกสร้างสำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่งดงาม ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศและเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางธุรกิจของสปป.ลาวตอนเหนือ

สะหวันนะเขต

          เป็นแขวงสำคัญทางภาคใต้ของประเทศมีพื้นที่ 21,774 ตารางกิโลเมตร จึงเป็นแขวงที่ใหญ่อันดับ 2 ของสปป.ลาวอยู่ตรงข้ามจังหวัดมุกดาหารมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นเขตแดนและมีสะพานมิตรภาพ 2 เชื่อมโยงไทย-ลาว โดยมีเส้นทางหมายเลข 9 ที่สามารถเดินทางไป เมืองดองฮา และ ท่าเรือน้ำลึกดานังของ เวียดนาม ด้วยเหตุนี้แขวงสะหวันนะเขตจึงเป็นเมืองที่มีความสำคัญด้านการค้าและรวมไป ถึงการส่งสินค้าผ่านแดน ระหว่างเมืองเมาะลำไยของพม่ากับแขวงสะหวันนะเขตเพื่อผ่านไปท่าเรือน้ำลึก ดานังของเวียดนามซึ่งมีระยะทางประมาณ 1,450 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคม East-West Economic Corridor หรือ EWEC ภายใต้ กรอบพัฒนาเศรษฐกิจสังคม 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงหรือ GMS ซึ่งเป็นทางบกที่สั้นที่สุดที่สามารถเชื่อมทะเลอันดามันกับทะเลจีนใต้

สถานภาพทางด้านเศรษฐกิจของลาว

          ภาวะเศรษฐกิจของประเทศลาวมีพัฒนาการที่ดีตามลำดับ โดยในช่วง 20 ปีนับตั้งแต่ปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสู่ระบบเศรษฐกิจเสรีการตลาดเมื่อปี 2529 ประเทศลาวมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.2 ต่อปี ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 200 ดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2529 เป็น 491 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2548 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 10 ต่อปี อาชีพหลักของชาวลาว คือเกษตรกร รวมถึงประมงและป่าไม้ รองลงมาคืองานบริการและอุตสาหกรรม

สินค้าเกษตร
          ข้าว ข้าวโพด พืชตระกูลถั่ว อ้อย กาแฟ

อุตสาหกรรมหลักในประเทศ
         อุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า เป็นสาขาหลักที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ 
สินค้าส่งออก
          สินค้าส่งออกที่สำคัญของลาวได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน หนังดิบ และหนังฟอก ข้าวโพด ใบยาสูบ กาแฟ

สินค้านำเข้า
          รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน อาหาร ผ้าผืน สารเคมี และเครื่องอุปโภคบริโภค
ทรัพยากรที่สำคัญ
          ไม้ ดีบุก ยิปซัม ตะกั่ว หินเกลือ เหล็ก ถ่านหินลิกไนต์ สังกะสี ทองคำ อัญมณี หินอ่อน น้ำมัน และแหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า


เมืองหลวงลาว – กรุงเวียงจันทน์

เมืองหลวงลาว – กรุงเวียงจันทน์เวียงจันทน์ (Vientiane) เมืองหลวงของลาว หรือ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เป็นเมืองที่สำคัญและใหญ่ที่สุดของประเทศ ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศลาวใกล้กับจังหวัดหนองคายของประเทศไทยและเป็นหนึ่งในเมืองหลวงอาเซียนในปัจจุบัน โดยเวียงจันทน์มีพรมแดนติดกับภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย



ประวัติของเมืองหลวงลาว – กรุงเวียงจันทน์
เมืองหลวงลาว หรือ กรุงเวียงจันทน์ หรือ นครหลวงเวียงจันทน์ ที่คนลาวนิยมเรียก เป็นเมืองที่มีประวัติย้อนหลังอันยาวนาน โดยถูกสถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้าง (ประเทศลาวในปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ. 2103 โดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2321 ได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของไทย และตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2436 ก่อนจะประกาศเอกราชในเวลาต่อมา ซึ่งตลอดเวลาตั้งแต่สมัยอาณาจักรล้านช้างจนถึงปัจจุบัน นครเวียงจันทน์ได้รับการยกให้เป็นเมืองหลวงของประเทศตลอดมา
ลักษณะทั่วไปของเวียงจันทน์
เวียงจันทน์ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศในเขตลุ่มน้ำโขง มีที่ตั้งตามพิกัดสากลที่ 17°58′ เหนือ, 102°36′ ตะวันออก มีประชากรทั้งแบบลงทะเบียนและไม่ลงทะเบียนแน่นอนราว 700,000 คน

ที่มา : เกร็ดความรู้.net

ศาสนาและวัฒนธรรม

ศาสนา

ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ (ร้อยละ 60 ของชาวลาวทั้งหมด) ควบคู่ไปกับลัทธินับถือผีบรรพบุรุษของชนชาติส่วนน้อยในแถบภูเขาสูง ส่วนชาวลาวที่นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามมีจำนวนที่ค่อนข้างน้อยมาก โดยศาสนาคริสต์ส่วนมากจะมีผู้นับถือเป็นกลุ่มชาวเวียดนามอพยพและชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม ส่วนศาสนาอิสลามพบว่ามีการนับถือในหมู่ชนชาติส่วนน้อยจีนฮ่อที่อาศัยตามชายแดนด้านติดกับประเทศพม่า และมีชุมชนมุสลิมที่มีเชื้อสายเอเชียใต้ และจามในเวียงจันทน์



วัฒนธรรม

            มีความคล้ายคลึงกับคนภาคอิสานของไทยเป็นอย่างมาก ยังมีคำกล่าวที่ว่า “ มีลาวอยู่แห่งใด มีมัดหมี่ แลลายจกอยู่ที่นั้น ” ในด้านดนตรี ลาวมีแคนเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ มีหมอขับ หมอลำ ลาวมีประเพณีทางพระพุทธศาสนาและอื่นๆ เช่น วันมาฆบูชา วันสงกรานต์ วันออกพรรษา บุญเข้าประดับดิน บุญเข้าฉลาก บุญส่วงเฮือ (แข่งเรือ) บุญธาตุหลวงเวียงจันทน์ ในเดือน 12 เป็นต้น

            พุทธศาสนาแบบเถรวาท นับเป็นแบบแผนหลักของวัฒนธรรมลาว ซึ่งปรากฏให้เห็นทั่วประเทศ ทั้งในด้านภาษา และศิลปะ วรรณคดี ศิลปะการแสดง ฯลฯ สำหรับดนตรีลาวนั้นมี แคน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ วงดนตรีของลาวก็คือวงหมอลำ มีหมอลำ และหมอแคน ท่วงทำนองของการขับลำจะแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ทางภาคเหนือเรียกว่าขับ ภาคใต้จากบอลิคำไซลงไปเรียกว่าลำ เช่น ขับงึมเวียงจันทน์ ขับพวนเซียงขวง ลำสาละวันของแขวงสาละวัน ลำภูไท ลำตังหวาย ลำคอนสะหวัน ลำบ้านซอกของแขวงสะหวันนะเขต ขับโสม ลำสีพันดอนของแขวงจำปาสัก ลำมะหาไซของแขวงคำม่วน ขับทุ้มของแขวงหลวงพระบาง ขับลื้อของชาวลื้อ เป็นต้น


            การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของลาวคือผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น (ผ้าถุง) อาหารของคนลาว ลาวจะทานข้าวเหนียวเป็นหลัก อาหารที่เป็นเอกลักษณ์คือ แจ่ว ส้มตำ ไก่ย่าง ลาบ เป็นต้น  อารยธรรมเก่าแก่ของลาวนั้น มีปรากฏจากหลักฐานด้านโบราณคดียุคหินที่ทุ่งไหหินในแขวงเชียงขวาง

ที่มา : https://th.wikipedia.org

ภาษาประจำชาติ

       
         ประเทศลาวใช้ภาษาลาวเป็นภาษาทางการทั้งในส่วนของภาษาพูดและระบบการเขียน ส่วนในกลุ่มชาวลาวเทิงและชาวลาวสูงยังคงมีการใช้ภาษาประจำเผ่าของตนควบคู่กับภาษาลาว ส่วนภาษาต่างประเทศอื่นที่มีการใช้ได้แก่ภาษาฝรั่งเศสซึ่งมีการใช้มาตั้งแต่สมัยอาณานิคม ปัจจุบันยังคงใช้ในวงราชการและการติดต่อค้าขายบ้าง อีกภาษาหนึ่งที่สำคัญคือภาษาอังกฤษซึ่งใช้ในการติดต่อกับต่างประเทศและการค้า ซึ่งนับวันการศึกษาภาษาอังกฤษก็ยิ่งจะขยายตัวมากขึ้น

         สำหรับอัตราการรู้หนังสือของลาวนั้น ประชากรเพศชายรู้หนังสือร้อยละ 67 หญิงร้อยละ 43 เมื่อคิดเฉลี่ยรวมทั้งสองเพศแล้วปรากฏว่าประเทศลาวมีอัตราประชากรที่รู้หนังสือ ร้อยละ 55

ที่มา : https://thelaoss.wordpress.com/

ประชากรลาว


จากสถิติในปี พ.ศ. 2548 (ตามข้อมูลกระทรวงการต่างประเทศของไทย) ประเทศลาวมีประชากรรวม 6,068,117 คน ประกอบด้วยชนชาติต่างๆ หลากหลายเชื้อชาติ ซึ่งในภาษาลาวจะเรียกรวมกันว่า “ประชาชนบรรดาเผ่า” สามารถจำแนกได้เป็น 68 ชนเผ่าโดยประมาณ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ตามถิ่นที่อยู่อาศัย ดังนี้
   1. ลาวลุ่ม หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบ ส่วนใหญ่ได้แก่คนเชื้อชาติลาว ภูไท ไทดำ ไทลื้อ ฯลฯ ใช้ภาษาลาวหรือภาษาตระกูลภาษาไทเป็นภาษาหลัก ประชาชนกลุ่มนี้มีอยู่ร้อยละ 68 ของจำนวนประชากรทั้งหมดและอาศัยกระจายอยู่ทั่วประเทศ ถือว่าเป็นกลุ่มชาวลาวที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศ
   2. ลาวเทิง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูง เช่น ชาวบรู มะกอง งวน ตะโอย ตาเลียง ละเม็ด ละเวน กะตัง ฯลฯ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ เช่น แขวงจำปาสัก แขวงเซกอง แขวงอัตตะปือ คิดเป็นร้อยละ 22 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
   3. ลาวสูง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูง เช่น ชาวม้ง เย้า มูเซอ ผู้น้อย และชาวเขาเผ่าต่างๆ ส่วนมากอาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือของลาว เช่น แขวงหลวงพระบาง แขวงเชียงขวาง และตามแนวตะเข็บชายแดนภาคเหนือ ชาวลาวกลุ่มนี้คิดเป็นจำนวนร้อยละ 9 ของจำนวนประชากรทั้งหมด

ที่มา : https://thelaoss.wordpress.com/

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ลักษณะทางภูมิศาสตร์

          ลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และทางตะวันตกของเวียดนาม มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร ในใจกลางของแผ่นดินใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ล้อมรอบด้วยพม่า จีน กัมพูชา ไทย และเวียดนาม โดยตำแหน่งที่ตั้งทำให้มีฐานะเป็นรัฐกันชนระหว่างเพื่อนบ้านที่มีอำนาจมากกว่า เป็นทางผ่านของการค้าและการสื่อสาร การอพยพและความขัดแย้งในระดับนานาชาติ ส่งผลต่อสถานะทางเชื้อชาติของประเทศและการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ของกลุ่มชนเหล่านี้

          แนวชายแดนด้านตะวันตกส่วนใหญ่ของลาวกำหนดด้วยแนวแม่น้ำโขงซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งที่สำคัญ น้ำตกดองทางใต้สุดของประเทศขัดขวางในการที่ประเทศจะเข้าถึงทะเล แต่มีเรือล่องในแม่น้ำโขงในลาวเกือบตลอดปี แม่น้ำโขงไม่ได้เป็นอุปสรรคกั้นขวาง มีความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรมระหว่างลาวและภาคอีสานของไทย แสดงให้เห็นว่ามีการติดต่อระหว่างสองฝั่งแม่น้ำเป็นเวลานาน ในอดีต ราชอาณาจักรล้านช้างมีอำนาจปกครองทั้งสองฝั่งแม่น้ำ ก่อนที่สยามจะเข้ามาควบคุมในพุทธศตวรรษที่ 24 จากนั้น เมื่อฝรั่งเศสเข้ามาควบคุมลาว แม่น้ำโขงจึงกลายเป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส การติดต่อระหว่างทั้งสองฝั่งจึงถูกจำกัด
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ภูมิศาสตร์ลาว

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกประเทศลาว

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกประเทศลาว